Sunday, 14 February 2010

FOR BAD CLIMATE TODAY...HAVE NOODLE BEEF SOUP BY NAI BANN BANG KRANG ,BANG YAI ,KANJANAPISEK,THE SQUARE WITH MOVIE CINEMAS DAY....








http://bangkok-guide.z-xxl.com/?p=5205
 .วัดสวนแก้ว หมู่ ๑ ตำบลบางเลน บางใหญ่ นนทบุรี เดิมชื่อ “วัดแก้ว”เป็นวัดร้างมาราว ๙๐ ปี เป็นสถานที่เผยแพร่ธรรมโดยพระพิศาลธรรมพาที(พระพยอม กัลยาโณ) เป็นพระนักพัฒนา ท่านได้ริเริ่มโครงการต่างๆของมูลนิธิสวนแก้วเพื่อพัฒนาสังคม และคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาสในสังคมจนประสบความสำเร็จ เช่น โครงการร่มโพธิ์แก้ว โครงการที่พักคนชรา โครงการซุปเปอร์มาร์เก็ตผู้ยากไร้ โครงการสวนแก้วเนอร์สเซอรี่และอีกหลายโครงการ เจ้าอาวาส พระราชธรรมนิเทศ(กลฺยาโณ พะยอม จั่นเพ็ชร์) อุปสมบทเมื่อ ๑๖ มิ.ย.๒๕๑๓
โทร. ๐๒ ๕๙๕ ๑๙๔๕-๗, ๐๒ ๕๙๕ ๑๔๔๔ โทรสาร ๐๒ ๕๙๕ ๑๒๒๒ เว็บไซต์ www.suankaewfoundation.org
การเดินทาง จากสะพานพระนั่งเกล้า ตรงไปสี่แยกไฟแดงที่ ๒ เลี้ยวซ้ายเข้าบางกรวย ประมาณ ๒กิโลเมตรจะถึงวัด หรือจากท่าน้ำนนทบุรี ข้ามไปฝั่งท่าน้ำบางศรีเมือง แล้วต่อรถสองแถวไปถึงวัดสวนแก้ว ค่าโดยสารคนละ ๘ บาท

วัดราษฎร์ประคองธรรม ตั้งอยู่เลขที่ ๖๓ หมู่ที่ ๑ ตำบลเสาธงหิน อำเภอบางใหญ่ เป็นวัดสังกัดมหานิกาย สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๒๕๖ เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดค้างคาว บริเวณด้านหน้าวัดติดคลองอ้อมนนท์ มีสวนล้อมรอบ ภายในวัดเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ (หลวงพ่อพระนอน) และหลวงพ่อโต (ซำปอกง) ซึ่งมีพุทธศาสนิกชนชาวไทยและต่างชาติให้ความสนใจและเดินทางมาเคารพสักการะ อยู่เสมอ เจ้าอาวาส พระครูกิตติวิริยาภรณ์(มหาวีโร วิทยา เพ็ชรปาน) อุปสมบทเมื่อ ๑๐ พ.ค.๒๕๓๕
การเดินทาง ใช้ถนนรัตนาธิเบศร์ เมื่อข้ามสะพานพระนั่งเกล้า และผ่านสี่แยกท่าอิฐ จะถึงสี่แยกบางพลูให้เลี้ยวซ้ายเข้าวัด นอกจากนี้ยังสามารถเดินทางเข้าถึงได้จากเส้นทางตลิ่งชัน-สุพรรณบุรีบริเวณ เทศบาลบางม่วงได้อีกทางหนึ่ง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐๒-๕๙๕-๑๔๕๖
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์(คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์) วัดใหม่ปี ๒๕๕๑ ตั้งอยู่เลขที่ ๗๕ ม.๔ ต.โสนลอย อ.บางบัวทอง นนทบุรี พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (ท่านเจ้าคุณเย็นเชี้ยว) ดำเนินการก่อสร้างและพระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร เป็นประธานที่ปรึกษา พร้อมทั้งพุทธบริษัทไทย-จีนร่วมกันสร้างถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ เนื่องในวโรกาสอันเป็นมหามงคลสมัยปีกาญจนาภิเษก ทางวัดมังกรกมลาวาส ได้กราบทูลเชิญสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก สมเด็จองค์ประธานวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๙ เวลา ๑๕.๐๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชานุญาตให้สร้างวัดและพระราชทาน นามว่า“วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์” งานสมโภช สวดมนต์เพื่อเป็นสิริมงคล รวม ๗ วัน ๗ คืน ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ ๒๐-วันพุธที่ ๒๖ มีนาคม ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๑ (วัดใหม่ล่าสุดวัดลำดับจัดตั้งที่ ๑๙๐)




http://www.thai-tour.com/wb/view_topic.php?page=1&id_topic=956

นายแบ๋น บางกร่าง ก๋วยเตี๋ยวเรือหน้าโรงหนัง เดอะสแควส กาญจนาภิเษก

น่าเสียดาย แพ้โปรโมทพวกธุรกิจขาใหญ่จริงหรือเปล่าไม่รู้

แต่ยังชอบกินเนื้อกับดูหนังอยู่
หลังไหว้พระไหว้เจ้าเที่ยวกันแถวนี้ทั่วๆละกัน

ความที่ชอบกินเนื้อ เลยต้องไปหาเนื้อกิน
ก๋วยเตี๋ยว เรือเนื้อที่บางใหญ่ปากซอยชั้นบนข้างลานสเกตกับข้างปั้มปอตอทอขาเข้าจาก สุพรรณปากซอยที่บ้านก็อร่อยดี เขาว่ามีเจ้าแรกขายที่ปากซอยหมู่บ้านบัวทองด้วย  กินในห้างร้านชามเล็กชามใหญ่อิ่มหน่อยก็สามสิบห้าบาทให้ค่าที่ค่ายี่ห้อเขา ด้วย เพราะเขารับประกันความอร่อย
คนแน่นร้านเลย
แต่พวกขายอย่างอื่นในห้างนี้ทำท่าจะสลบกันหมด โรงหนัง มือถือ เสื้อผ้า ของกิน ของขาย หนังสือ
นึกแล้วเสียดาย
ความที่นโยบายประเทศชาติมันเอาแน่ไม่ได้
พวก เอกชนเขาก็อยากได้กำไรเยอะๆ โดยเฉพาะพวกลงทุนตัวใหญ่ที่กะฟันขายเอากำไรแล้วเผ่น ทิ้งภาระไว้ให้ผู้ค้าขายผู้อาศัยในย่านที่รอรถไฟฟ้าการคมนาคมสื่อสารยอด เยี่ยม รอกันจนทุนหายกำไรหด ปิดร้านหนีผีหลอกไปหาทำเลใหม่ให้มันไกลไปจาก รถไฟฟ้าบางใหญ่บางซื่อ ให้ไกลแสนไกล
จะได้ลืมๆไปบ้างกับถ้อยคำสัญญาหลอกลวงของภาครัฐทุกสมัย
ส่วน พวกที่เข้ามาอยู่อาศัยก็เฝ้าแต่รอว่าอีกหน่อยองค์การบริหารส่วนตำบลกับ เทศบาลคงพัฒนาศักยภาพเทียบเงินเทียบช่างเทียบครูเทียบโรงพยาบาลอะไรต่อมิ อะไรเท่ากับเขตปกครองพิเศษกะเขาเสียที
การ บริหารจัดการบรรดานายกท้องถิ่นเขาเป็นมือนักธุรกิจรับเหมามืออาชีพกันทั้ง นั้น หายห่วงเรื่องบริหาร ส่วนเรื่องความปลอดภัยมั่นคงก็ส่วนของปกครองกับตำรวจ โดยหากทำงานแยกแยะกันชัดเจนในระบบท้องถิ่นทั่วไทยเมื่อไหร่ พัฒนากรก็สดชื่นเพราะพัฒนามวลชนง่ายสบายอุรา ไม่ต้องมาคอยเป็นคนกลางหรือรับงานนอกที่ไม่ได้ตังคมาทำบ้าบออีก คนรักกันทั้งตำบลก็จะขยันหาเลี้ยงชีพแล้ว  ไม่มาทะเลาะกันทั้งผู้นำและชาวบ้าน แสดงว่าพัฒนากรประสบความสำเร็จเรื่องการเป็นพี่เลี้ยงผู้นำทั้งแบบเป็นทาง การและไม่ใช่
รออยู่แหละเห็นเสารถไฟฟ้าขึ้นตรงปากซอยรางๆแล้ว
เพราะคนมาหาถามที่อยู่ที่ขายของเยอะขึ้น
รถวิ่งอยู่หน้าบ้านแบบซุปเปอรไฮเวยเลยตอนนี้เยอะมากสิบหกล้อกับรถบัสรถทัวสวิ่งกันตลบ
แต่ทางหลวงชนบทกับออบอตอสามารถอยู่เพียงสองเลนเหมือนเดิม
อีกเลนคือวิ่งลงคลองไปเลย


ส่วนถนนในฝันที่นายเพิ่งย้ายไป เฝ้าประตูออกไปพม่าเมื่อเดือนก่อนก็ทำท่าจะเป็นหมันอีก  สงสัยจะยาก กะจะขับรถเที่ยวจากบางใหญ่ไปกาญจนบุรีและมุ่งไปท่าเรือทวายตะนาวทางพม่าโน่น
เพราะน้องหนุ่มหล่อชาวพม่าคราวที่แล้วล้วนแต่น่ารักเป็นอันมาก
ก็ยังคิดถึงอยู่
ป้าๆอยากไปเยี่ยมหาแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมน่ะ

ส่วนทางกัมพูชานั้นประสาเพื่อนบ้านและมนุษยธรรมค้ำจุนโลก ก็ต้องพยายามสมานฉันท ก็ยังคิดถึงผู้ที่เคยมาอบรมทุกท่าน  รวมทั้งหมู่บ้านและถนนทั้งหลายที่ชาวไทยช่วยกันไปแล้วทั้ง๔๘และ๖๗ เพราะเรามีการค้าเสรีกันแล้ว ถ้าเราไม่รักไม่ค้าขายแลกเปลี่ยนกัน พวกภูมิภาคอื่นเขาก็จะชิงตลาดเราไปหมดสิ้น อาเซี่ยนเราต้องรักกันมากๆ


ก็หวังไปต่างๆนานาว่าจะมีรถไฟฟ้าใช้เหมือนบ้านลูกบ้าง
เพราะสุขุมวิทก็บ้าไปพักนึงกว่ารถไฟฟ้าจะเสร็จ
เดินทางสะดวกดี ชอบ


sugarcane waiting for new sky train at Bangyai SQUARE CENTRAL...Hope to be here...if that time are real coming....together with all little investors here...hope that benefit and profit not leave only for big investors...in land lord or big department store or convenient store only that....
got all hot profits ...then left...like business political parties in some low developted countries of this world....

http://www.prakard.com/default.aspx?g=topics&f=413
http://www.moohin.com/007/
เมืองนนทบุรี  มี ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 400 ปี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีคูคลองน้อยใหญ่มากมาย  เป็นเมืองเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เดิมตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านตลาดขวัญ ซึ่งเป็นสวนผลไม้ที่ขึ้นชื่อในสมัยนั้น ได้รับการยกฐานะเป็นเมืองนนทบุรีเมื่อ พ.ศ. 2092 ในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ บ้านตลาดขวัญเป็นดินแดนแห่งความอุดม สมบูรณ์และเป็นสวนผลไม้ที่มีชื่อแห่งหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา ฝรั่งต่างชาติที่ได้เดินทางเข้ามาค้าขายและเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุง ศรีอยุธยาต่างก็ได้บันทึกเอาไว้ ดังปรากฏในจดหมายเหตุบันทึกการเดินทางของลาลูแบร์ ชาวฝรั่งเศสผู้ซึ่งเดินทางเข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชว่า “สวนผลไม้ที่บางกอกนั้น (หมายถึงกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน) มีอาณาบริเวณยาวไปตามชายฝั่ง โดยทวนขึ้นสู่เมืองสยามถึง 4 ลี้ กระทั่งจรดตลาดขวัญ (TALACOUN) ทำให้เมืองหลวงแห่งนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลาหาร ซึ่งคนพื้นเมืองชอบบริโภคกันนักหนา” (จดหมายเหตุลาลูแบร์)
ปี พ.ศ. 2179  พระเจ้าปราสาททองโปรดเกล้าฯให้ขุดคลองลัดตอนใต้วัดท้ายเมืองไปทะลุวัด เขมา เพราะเดิมนั้นแม่น้ำเจ้าพระยาไหลวกเข้าแม่น้ำอ้อมมาทางบางใหญ่วกเข้า คลองบางกรวยข้างวัดชลอ  มาออกหน้าวัดเขมา เมื่อขุดคลองลัดแล้ว แม่น้ำก็เปลี่ยนทางเดินไหลเข้าคลองลัดที่ขุดใหม่ กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ใหม่ดังปัจจุบันนี้ เมื่อ พ.ศ. 2208  สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเห็นว่า แม่น้ำเปลี่ยนทางเดินใหม่นั้น  ทำให้ข้าศึกประชิดพระนครได้ง่าย  จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมปราการตรงปากแม่น้ำอ้อม และโปรดเกล้าฯให้ย้ายเมืองนนทบุรีมา อยู่ปากแม่น้ำอ้อมด้วย ดังมีศาลหลักเมืองปรากฏอยู่    นอกจากป้อมที่ปากแม่น้ำอ้อมแล้วเข้าใจว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาคงจะได้มีการ สร้างป้อมไม้เอาไว้ที่บริเวณวัดเฉลิมพระเกียรติในปัจจุบัน เพราะปรากฏหลักฐานจากจดหมายเหตุรายวันของบาทหลวง เดอ ชัวซีย์ ผู้ซึ่งเดินทางร่วมมากับคณะราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่เข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเมื่อ พ.ศ.2228 ว่า “เช้าวันนี้เราผ่านป้อมที่ทำด้วยไม้ 2 ป้อม ป้อมหนึ่ง ยิงปืนเป็นการคำนับ 10 นัด อีกป้อมหนึ่ง 8 นัด ที่มีแต่ปืนครกเท่านั้น ดินปืนดีมากทีเดียว ป้อมทางขวามือเรียกป้อมแก้ว และป้อมทางซ้ายมือเรียกป้อมทับทิม ณ ที่นี้เจ้าเมืองบางกอกก็กล่าวคำอำลาและอ้างเหตุว่าได้ควบคุมเรือขบวนมาส่งจน สุดแดนที่อยู่ในความปกครองของเมืองบางกอกแล้ว แล้วก็ลาท่านราชทูตกลับไป
และในปี พ.ศ. 2230 เมื่อลาลูแบร์เป็นราชทูตเข้ามากรุงศรีอยุธยา ก็ได้กล่าวถึงป้อมไม้แห่งนี้ไว้ด้วย โดยที่เขียนเป็นแผนที่เอาไว้อย่างชัดเจนตามหลักฐานดังกล่าว จึงเข้าใจว่าป้อมแก้วคงตั้งอยู่ ณ บริเวณตลาดแก้ว ส่วนป้อมทับทิมเข้าใจว่าคงตั้งอยู่ ณ บริเวณหน้าวัดเฉลิมพระเกียรติในปัจจุบัน
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าฯให้ย้ายเมืองนนทบุรีไปตั้งที่ปากคลองบางซื่อบ้านตลาดขวัญ และในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งศาลากลางเมืองขึ้นที่ปากคลองบางซื่อ ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา จนถึงปี พ.ศ. 2471 รัชกาลที่ 7 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายศาลากลางมาตั้งที่ราชวิทยาลัย บ้านบางขวาง ตำบลบางตะนาวศรี ปัจจุบันเป็นที่ตั้งกองฝึกอบรมกระทรวงมหาดไทยตั้งอยู่บนถนนประชาราษฎร์ สาย 1 อำเภอเมือง ริมแม่น้ำเจ้าพระยา  ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบยุโรปตามอาคารประดับด้วยไม้ฉลุ  ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา กรมศิลปากรได้ขึ้นบัญชีเป็นโบราณสถานแห่งหนึ่ง และในปัจจุบันศาลากลางจังหวัดนนทบุรีได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่ถนนรัตนาธิเบศร์
จังหวัดนนทบุรี ตั้งอยู่ในภาคกลางเป็นจังหวัดหนึ่งใน 5 จังหวัดปริมณฑล คือ นนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐม สมุทรสาครและปทุมธานี มีเนื้อที่ประมาณ 622.303 ตารางกิโลเมตร มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งพื้นที่ของจังหวัดออกเป็น 2 ส่วน
เขตการปกครองแบ่งออกเป็น อำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอปากเกร็ด อำเภอบางกรวย อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางบัวทองและอำเภอไทรน้อย
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนนทบุรี โทร. 0 2580 0751, 0 2589 7615
เทศบาลปากเกร็ด โทร. 0 2960 9704 - 14
อำเภอปากเกร็ด โทร. 0 2583 8326, 0 2583 9878
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเกร็ด โทร. 0 2583 9544
ที่ว่าการอำเภอไทรน้อย โทร. 0 2597 1178
โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า โทร. 0 2527 0246-53
โรงพยาบาลนนทเวช โทร. 0 2589 0102 - 7


อยากทราบราคาประเมินตึก c 1 and c 2 ชั้น 8 ครับ อยู่ประมาณเท่าไหร่ครับพี่น้อง

IP: 61.7.144.254
Posted: Thursday, January 14, 2010 10:03:18 AM
http://www.prakard.com/themes/yafvision/b_quote_post.png

http://www.prakard.com/images/ranks/rank2.gif
Rank: Advanced Member
Groups: M
วัดในจังหวัดนนทบุรี องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี จัดทำขึ้นรวม 189 วัด ในปี 2550 และเพิ่มเป็น 190 วัด คือวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์(วัดโพธิ์ทอง) คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ (นามพระราชทาน) มีพระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (พระอาจารย์เย็นเชี้ยว). เจ้าอาวาสวัดเล่งเนยยี่เป็นองค์อุปถัมภ์ ในปี 2551
วัดเฉลิมพระเกียรติ พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๘๖ ถ.ท่าน้ำนนท์-วัดโบสถ์ดอนพรหม ต.บางศรีเมือง อ.เมือง นนทบุรี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกเยื้องศาลากลางจังหวัด (หลังเก่า)ไปทางทิศเหนือประมาณ ๑ กม. ตั้งวัดเมื่อ ๒๓๙๐ เป็นวัดที่มีความสำคัญคู่บ้านคู่เมือง วัดอยู่ในเขตป้อมเก่า รัชกาลที่ ๓ ให้พระยาคลัง(ดิศ บุนนาค) เป็นแม่กองสร้าง เป็นการถวายพระเกียรติ พระอัยการพระวัยก์ และสมเด็จพระชนนี แห่งพระองค์ สร้างวัดยังไม่เสร็จ โปรดให้พระยาทิพกรวงศ์ (นำ บุญนาค) ต่อมารัชกาลที่ ๔ ทรงรับพระราชภารกิจในการสร้างวัดจนแล้วเสร็จ ภายในวัดมีพระอุโบสถสร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบไทยปนจีน ด้านในประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัย หล่อด้วยทองแดงทั้งองค์ หน้าตักกว้าง 6 ศอก สูงจรดเศียร 8 ศอก 2 คืบ 4 นิ้ว พระนามว่า "พระพุทธมหาโลกาภินันทปฎิมา" ในพระวิหารขวา ประดิษฐาน “พระศิลาขาว” พระการเปรียญหลวง(ซ้าย) ประดิษฐาน “พระพุทธปฏิมากรชัยวัฒน์” และพระมหาเจดีย์ เจ้าอาวาสพระอารามหลวง และเป็นเจ้าคณะจังหวัดนนทบุรีฝ่ายมหานิกาย พระธรรมกิตติมุนี (ฐานมงฺคโล สาย ศรีมงคล) เกิด ๒๒ พ.ย. ๒๔๗๖ อุปสมบท ๑๙ เม.ย. ๒๔๙๗ เจ้าอาวาสและเจ้าคณะจังหวัดเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๘
วัดนี้ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นประจำปีพ.ศ. ๒๕๓๖ จากสมาคมสถาปนิกสยาม สถาปัตยกรรมในวัดที่น่าสนใจได้แก่ พระอุโบสถ เป็นศิลปะแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ ๓ (คือ ศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากจีนมาผสม) หลังคามุงด้วยกระเบื้องรางดินเผาชนิดกาบกล้วยไม่เคลือบสี ถือปูนทับแนวทำเป็นลอนลูกฟูกแบบเก๋งจีน หน้าบันประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสี สลับลวดลายใบดอกพุดตาน กระจังฐานพระ ช่อฟ้าใบระกา ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีสลับลายจากประเทศจีน ผนังด้านในเขียนสีลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง มีช่อดอกพุดตานภายใน เพดานลายฉลุปิดทอง ซุ้ม ประตูหน้าต่างประดับลายปูนปั้นรูปใบและดอกพุดตาน พื้นประดับกระจก
ผนังภายในพระอุโบสถเขียนสีลายดอกไม้ร่วง บานประตูหน้าต่างเขียนลายทองรดน้ำ กรอบประตูหน้าต่างประดับปูนปั้นยกดอกพุดตาน พื้นประดับกระจกส่วนด้านในของบานประตูหน้าต่างเขียนรูปกอบัว ดอกบัว นก และสัตว์น้ำ
พระประธานในพระอุโบสถวัดเฉลิมพระเกียรติเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยทองแดงทั้งองค์ มีตำนานเล่าว่า ในสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯให้ขุดแร่ทองแดงที่อำเภอจัณทึก จังหวัดนครราชสีมา ได้แร่ถลุงเป็นเนื้อทองแดงมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะใช้ทองแดงนั้นให้เป็น ประโยชน์เกื้อกูลแก่พระพุทธศาสนาก่อน จึงโปรดเกล้าฯให้หล่อพระพุทธรูปซึ่งประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอาราม ซึ่งทรงสร้างใหม่ ๒ พระอาราม คือ วัดราชนัดดากับวัดเฉลิมพระเกียรติ และยังได้โปรดเกล้าฯให้หล่อพระพุทธรูปปางอื่นอีก ๓๔ ปางด้วย พระประธานนี้หล่อเสร็จเรียบร้อยเมื่อพ.ศ.๒๓๘๙ เฉพาะที่อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดราชนัดดานั้น เวลาชักเคลื่อนองค์พระไปวัดเกิดอาเพศ ตะเฆ่ (เครื่องลากเข็นของหนัก รูปเตี้ยๆ มีล้อ) ประดิษฐานพระไปทับเอาเจ้าพระยายมราช (บุญนาค) กับทนายอีก ๒ คน ตาย เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ พระองค์ถวายพระนามพระประธานว่า “พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา”
ภายในพระวิหารหลวง หรือเรียกกันว่า วิหารพระศิลาขาว อยู่ด้านทิศใต้ของพระอุโบสถประดิษฐานพระประธานศิลา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้อัญเชิญมาเมื่อพ.ศ. ๒๔๐๑ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พร้อมด้วยพระอัครสาวกซ้ายขวาเป็นพระศิลานั่งพับเพียบซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่ เพียงองค์เดียว พระเจดีย์ อยู่ทางทิศตะวันตกของพระอุโบสถ เป็นเจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆัง มักเรียกกันว่า ทรงลังกา เนื่องจากได้รับแบบอย่างมาจากลังกา พร้อมกับการเผยแพร่เข้ามาของพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ มีฐานแปดเหลี่ยมสองชั้นสูง ๔๕ เมตร ภายในบรรจุพระบรมธาตุ
ยังมีถาวรวัตถุอื่นที่สำคัญ เช่น การเปรียญหลวง อาคารแบบผสมระหว่างอาคารทรงไทยกับเครื่องบนหลังคาแบบจีน ลักษณะเป็นตึกทรงโรงมีเสาอยู่ข้างใน ภายในประดิษฐานพระพุทธปฏิมากรชัยวัฒน์ ซึ่งหาชมได้ยาก นอกจากนี้ยังมี กุฏิทรงไทย อยู่ด้านเหนือเขตพุทธาวาสจำนวน ๒๐ หลัง เป็นเรือนไทยภาคกลางใต้ถุนสูง กำแพงแก้วและป้อมปราการ เป็นกำแพงก่ออิฐถือปูน มีใบเสมาเหมือนกับกำแพงพระบรมมหาราชวัง มีป้อมปราการทั้งสี่มุม มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และพระศรีมหาโพธิ์ ต้นโพธิ์พันธุ์พุทธคยาที่ได้มาสมัยรัชกาลที่ ๔
การเดินทาง
รถยนต์ เข้าไปตามถนนบางกรวย-ไทรน้อยแล้วเลี้ยวเข้าท่าน้ำนนทบุรี(ฝั่งธนบุรี) จะมีป้ายบอกทางตลอด หากมาจากฝั่งกรุงเทพฯข้ามสะพานพระราม ๕ แล้วแยกเข้าถนนบางกรวย–ไทรน้อย หรือข้ามจากสะพานพระนั่งเกล้า ถึงแยกบางพลู เลี้ยวซ้ายผ่านวัดสวนแก้ว ขับไปตามทางมีป้ายบอกทางเช่นกัน
เรือ นั่งเรือด่วนเจ้าพระยาไปยังท่าน้ำนนทบุรีแล้วลงเรือหางยาวประจำเส้นทางไป คลองบางใหญ่ ออกจากท่าน้ำนนทบุรีทุก ๒๐ นาที ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๕ นาที
รถโดยสารประจำทาง ขึ้นรถโดยสารประจำทางหรือรถสองแถวจากท่าน้ำนนทบุรี (ฝั่งธนบุรี)
*หมายเหตุ-พระวิหารขวาบรรจุพระอัฐิพระอัยิกา(ยาย)และพระราชชนนี พระวิหารซ้ายบรรจุพระบรมอัฐิ(ส่วนหนึ่ง)รัชการที่ ๓ จากความทรงจำของผู้เขียน(สุขนิรันดร์ ดาวเรือง) จากหนังสือ เจ้าชีวิต และหนังสือจดหมายเหตุ(จำเล่นละเจ้าของหนังสือไม่ได้ ค้นหาไม่พบ)
 วัดชลอ ตั้งอยู่เลขที่ ๓๓ ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ม.๓ ต.วัดชลอ อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๐๘๑ พระอุโบสถหลังเก่าอายุกว่า ๔๕๐ ปี แบบเรือสำเภา ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ๒๕๑๓ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๒ วัดนี้มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ได้ทรงเสด็จทางชลมารคมาตามลำน้ำเจ้า พระยาผ่านจังหวัดนนทบุรีเรื่อยมาทางคลอง “ ลัด” ในปัจจุบันเรียกว่า “คลองบางกรวย” พระองค์ทรงเห็นว่า ที่ตรงนี้น่าจะมีการสร้างวัดขึ้นมาสักวัดหนึ่ง แต่เนื่องจากบริเวณนั้นในอดีตเคยมีเรือสำเภาจากเมืองจีนล่มและจมลง มีลูกเรือล้มตายมาก มีความเชื่อว่าเป็นที่อาถรรพ์ ในระหว่างการก่อสร้างก็มีอุปสรรคนานัปการ จึงทรงเสี่ยงสัตยาธิษฐานกับเทพยดาและมีพระสุบินนิมิตไปว่า ชายจีนชรามากราบทูลว่า ต้องสร้างโบสถ์เป็นรูปเรือสำเภาเพื่อการแก้เคล็ด จึงทรงสร้างโบสถ์เป็นรูปเรือสำเภา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ได้ทรงพระราชทานนามวัดดังกล่าวว่า” วัดชลอ” วัดชลอถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่ามาโดยตลอดเพิ่งจะมีพระภิกษุมาจำพรรษาใน รัชกาลที่ ๓ หรือ รัชกาลที่ ๔ สิ่งที่น่าชมในวัดนี้คือ โบสถ์เรือหงส์ใหญ่ที่สุดในโลก เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ โดยหลวงพ่อวัดชลอหรือท่านพระครูนนทปัญญาวิมล ได้เล่าถึงนิมิตรเห็นเรือหงส์ลอยมาอยู่หน้าโบสถ์หลังเก่า (โบสถ์ที่มีลักษณะเหมือนเรือสำเภา) จึงได้เริ่มลงมือก่อสร้าง เจ้าอาวาส พระครูปลัด ทนงค์ ฐิตรํสี(ธรรมศูนย์) อุปสมบท ๒๐ ก.ค. ๒๕๑๕ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐๒-๔๔๗-๕๑๒๑, ๐๒-๘๘๓-๙๒๗๗
กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ทรงนิพนธ์ไว้ใน นิราศพระประธม ของพระองค์ท่านว่า
. . . . วัดชลอคิดใคร่จ้าง . . . . . . . . . . คนจร
ปลอบชลอบรรจฐรณ์ - . . . . . . . . . . แท่นน้อง
มาร่วมเรือที่นอน . . . . . . . . . . . . . . .แนบน่อย หนึ่งนา
คิดบ่สมคิดข้อง . . . . . . . . . . . . . . . . ขัดแค้นคำชลอ ฯ
สุนทรภู่ ผ่านหน้าวัดชะลอคราวไปพระประธม ได้เขียนไว้ใน นิราศพระประธม ว่า
วัดชะลอใครหนอชะลอฉลาด
เอาอาวาสมาไว้ให้อาศัยสงฆ์
ช่วยชะลอวรลักษณ์ที่รักทรง
ให้มาลงเรือร่วมนวมที่นอน ฯ
 วัดปราสาท ตั้งอยู่เลขที่ ๑๘ ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ม.๔ ต.บางกร่าง อ.เมือง นนทบุรี เจ้าอาวาส พระครูวิสุทธิจริยาภิวัฒน์(วิมโล ฉลาด สดมุ้ย) อุปสมบทเมื่อ ๒๕ พ.ย.๒๕๑๕ ตั้งวัดประมาณ พ.ศ.๒๓๐๐ เป็นวัดเก่าแก่อายุกว่า ๒๕๐ ปี เป็นวัดร้างหลังเสียกรุง สร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ภายในโบสถ์มีจิตรกรรมฝาผนังที่ควรศึกษา พระประธานเก่าแก่มีรูปทรงโค้งคล้ายเรือ มีกำแพงแก้ว สองชั้นซึ่งมีร่องรอยให้ศึกษาได้ ปัจจุบันทรุดโทรมมากแล้ว ทางวัดกำลังวางแผนบูรณะซ่อมแซมสมัยอยุธยาตอนปลาย สร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หน้าบันพระอุโบสถเป็นไม้สักสลักรูปนารายณ์ทรงครุฑ (ปัจจุบันตัวครุฑถูกขโมยไปแล้ว) เครื่องบนเป็นไม้สักประดับด้วยรวยมอญ (ตัวไม้แกะสลักที่ทอดตัวลงมาบนหัวแปตอนหน้าจั่ว เป็นศิลปะมอญ) ตรงหุ่นนก (สามเหลี่ยม ข้างรวยมอญ) เป็นรูปราชสีห์และคชสีห์ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นโบสถ์แบบมหาอุดไม่มีการเจาะฝาผนังเลย ฐานพระอุโบสถเป็นแบบตกท้องช้างหรือท้องสำเภา (การสร้างโบสถ์แบบตกท้องช้างนั้น สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลทางสถาปัตยกรรม คือเมื่ออากาศร้อน ความร้อนจะลอยตัวขึ้นสูงอากาศเย็นจะพัดเข้าแทนที่ได้สะดวก) ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระประธานและพระสาวก มีภาพจิตรกรรมเขียนขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายโดยฝีมือของสกุลช่างชั้นสูง นนทบุรี เรียกว่าทศชาติชาดก นับว่าเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัดนนทบุรี ถือว่าวัดนี้เป็นวัดหนึ่ง ที่ดำเนินการอนุรักษ์โบสถ์และศิลปกรรมได้อย่างถูกวิธี จึงทำให้เป็นแหล่งวิทยาการที่น่าสนใจยิ่งของทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ บนศาลาการเปรียญยังมีธรรมาสน์ที่มีอายุเก่าแก่พอกับโบสถ์ ประดับลวดลายตกแต่งอย่างสวยงาม วัดนี้จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นวัดที่มีการอนุรักษ์ศิลปกรรมได้อย่างถูก ต้อง เป็นที่เชิดหน้าชูตา
"อุโบสถวัดปราสาท" เป็นอุโบสถสมัยอยุธยาตอนกลาง และเป็นแบบมหาอุด คือผนังด้านข้างไม่มีหน้าต่าง มีเพียงหน้าต่างเล็กตรงผนังด้านหลังพระประธานอย่างเดียว อุโบสถหันหน้าสู่ทิศตะวันออก เป็นอุโบสถแบบมีช่อฟ้า ใบระกา มีทวย มีหน้าบันจำหลักไม้ มีลายจำหลักไม้ดาวเพดานที่หน้ามุข...
(น. ณ ปากน้ำ. สกุลช่างนนทบุรี, เมืองโบราณ, ๒๕๓๐)
. . . . วัดปราสาทเป็นที่รู้จักกันดีของผู้คลุกคลีอยู่ในวงการศิลปะแบบประเพณีนิยม .. วัดนี้มีวิจิตรศิลป์อันงดงามทั้งด้านสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมสมัยอยุธยาตอน ปลาย โดยเฉพาะจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งเป็นผลงานสกุลช่างนนทบุรีที่หาชมได้ยากยิ่งแล้วในปัจจุบัน...
. . . . วัดปราสาทสร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศักราช ๒๓๐๐ ในสมัย อยุธยาตอนปลาย ไม่ปรากฎหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาหลายครั้ง กรมศิลปากรได้เคยบูรณะจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถมาครั้งหนึ่งแล้ว...
. . . . พระอุโบสถวัดปราสาทนั้นก็เหมือนกับพระอุโบสถของวัดอื่น ๆ ที่สร้างในสมัยอยุธยา กล่าวคือไม่มีหน้าต่างด้านข้าง แต่มีหน้าต่างเล็ก ๆ อยู่ทางด้านหลังพระอุโบสถเบื้องหลังพระประธานเท่านั้น...
(กรมการศาสนา, ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๒ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๐)
หมายเหตุ : คัดข้อความโดย "ปุ้มปุ้ย" ...
การเดินทาง
รถยนต์ วัดนี้ตั้งอยู่ริมถนนบางกรวย-ไทรน้อย จากสะพานพระนั่งเกล้า ตรงไปสี่แยกไฟแดงที่ ๒ เลี้ยวซ้ายเข้าบางกรวย ผ่านวัดสวนแก้ว ตรงไปทางเส้นบางกรวย-ไทรน้อย จะเห็นป้ายบอกทางไปวัด หรือ จากท่าน้ำนนทบุรีนั่งเรือข้ามฟากมา โดยสารรถสองแถวสายบางใหญ่-ท่าน้ำ คิวรถอยู่ใกล้กับวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

เรือ ต้องเดินจากท่าเรือผ่านสวน ของชาวบ้านเข้าไปประมาณ ๒ กิโลเมตร
วัดลาดปลาดุก ตั้งอยู่เลขที่ ๒๒ คลองบางไผ่ ม.๑๗ ต.บางรักใหญ่ อ.บางบัวทอง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ ๕ มิ.ย.๒๔๖๕ ไม่ทราบประวัติวัด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๗ ต.ค.๒๔๗๓ เจ้าอาวาส พระครูวิบูลย์นนทกิจ(ปกงฺกโร แสวง จันทร์อ้น) อุปสมบทเมื่อ ๑๐ เม.ย.๒๔๙๗

 วัดไผ่เหลือง(บางรักพัฒนา) ตั้งอยู่เลขที่ ๔๑/๑ ถ.รัตนาธิเบรศ์ ม.๔ ต.บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ ๓๐ ก.ค.๒๕๒๘ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๑ ก.พ.๒๕๓๓ เจ้าอาวาส พระมหาอนุชาติ อนุภทฺโท(พันธุ์วิทยากูล) อุปสมบทเมื่อ ๙ พ.ค.๒๕๓๘

 วัดโปรดเกษ ตั้งอยู่เลขที่ ๗๔ คลองพระอุดม ม.๒ ต.คลองพระอุดม อ.ปากเกร็ด นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๗ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๗ เจ้าอาวาส พระสมุห์ผิน ชินวโร(กล่ำโทก) อุปสมบทเมื่อ ๕ เม.ย.๒๕๐๐

วัดไผ่ล้อม (เกาะเกร็ด) ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านโอ่งอ่าง ม.๖ ต.เกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด นนทบุรี เป็นวัดที่สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย มีปูชนียสถานที่สำคัญ คือ อุโบสถ เป็นโบสถ์สมัยอยุธยาที่งามมากแห่งหนึ่ง แต่มีการซ่อมครั้งใหญ่สมัยรัชกาลที่ ๒ ถึงรัชกาลที่ ๓ ลายจำหลักไม้ที่หน้าบันเป็นลายดอกไม้งามมาก เช่นเดียวกับสาหร่ายและรวงผึ้งแกะสลักไม้ได้งดงาม เจ้าอาวาส พระอางุย สุนฺทโร(วงษ์สกุล) อุปสมบทเมื่อ ๑๕ พ.ค.๒๕๓๓ ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๓

วัดกลางเกร็ด ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านคลองลัดเกร็ด ถ.ภูมิเวทย์ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด นนทบุรี ติดแม่น้ำลัดเกร็ด มีพระอุโบสถขนาดเล็กเก่าแก่มาก (ปกติไม่เปิด) พระประธานปางมารวิชัย และมีพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ ยาว ๑๑ วา (๒๒ เมตร) อายุกว่า ๑๐๐ ปีที่มีผู้นับถือจำนวนมาก ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๒ พ่อค้าแม่ค้าทางเรือจะเลื่อมใสศรัทธาในหลวงพ่อโต วัดกลางเกร็ด แวะเวียนมาเพื่อปะพรมน้ำมนต์ให้เกิดสิริมงคลค้าขายรุ่งเรือง ภายในวัดยังมีพระไสยาสน์สักการะด้วย นอกจากนี้บริเวณริมน้ำหน้าวัด เป็นแหล่งที่มีปลาสวายจำนวนมาก มีบรรยากาศร่มรื่น พร้อมภาพชีวิตริมน้ำที่แตกต่างจาก บรรยกาศอันจอแจของแหล่งชุมชน เจ้าอาวาส พระครูนนทสารวิสิทธิ์ (นนฺทิโย วิสิทธิ์ ขวัญเมือง) อุปสมบทเมื่อ ๑๓ ก.ค. ๒๔๖๕

เดอะ สแควร์ บางใหญ่ เปิดตัวแรงดึงคอนเสิร์ต “ไมโคร”ปลุกตำนานร็อคมือขวา พร้อมนำทัพดาราสุดฮอต ร่วมฉลองแกรนด์ โอเพนนิ่ง

วันที่ 11 ธันวาคม 2552 15:57 น.
 พิมพ์ |  อีเมล์
ที่มา พี.ซี.แลนด์


          เปิดฉากอย่างยิ่งใหญ่สำหรับศูนย์การค้าสไตล์โมเดิร์น  ภายใต้คอนเซ็ปต์  จัตุรัสแห่งความสุข...รองรับทุกชีวิตทันสมัย  “ศูนย์การค้า  เดอะ  สแควร์  บางใหญ่”  แห่งแรกและแห่งเดียวในอำเภอบางใหญ่ จ.นนทบุรี  ที่จะทำให้ทุกท่านได้เพลิดเพลินไปกับสวรรค์แห่งการช้อปปิ้ง  โดยได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อเร็ว ๆ นี้  โดยมีศิลปินเจ้าของตำนานร็อคมือขวา”ไมโคร”, ดารา และเหล่าสาวงามร่วมแสดงความยินดีอย่างคับคั่ง

          ศูนย์การค้า  เดอะ สแควร์   ฉลองเปิดตัวอย่างเป็นทางการ โดยมีศิลปิน และดาราสุดฮอตร่วมแสดงความยินดี  พร้อมนำเสนอไลฟ์สไตล์ของตัวเองที่สามารถเติมเต็มได้ที่ศูนย์การค้า เดอะ สแควร์ บางใหญ่ นำโดย ดาราหนุ่มสุดฮอต อั้ม  อธิชาติ ชุมนานนท์  ที่มานำเสนอไลฟ์สไตล์ ที่มาพร้อม สาวแพท  ณปภา  ตันตระกูล ที่มาร่วมการันตรีความครบครัน ทันสมัย  โดยให้เกียรติวาดภาพ เพื่อเป็นที่ระลึกสำหรับงานเปิดตัว ต่างคนก็วาดความเป็นไลฟ์สไตล์ของตัวเองแถมทั้งคู่ยังใจดีขึ้นมาขับร้องบท เพลงกล่อมลูกค้าเพื่อเป็นของขวัญต้อนรับการเปิดให้บริการ  ด้านสี่สาวรองมิสไทยแลนด์เวิลด์  ก็บรรจงถ่ายทอดไลฟ์สไตล์  ทั้งแฟชั่น, ความสวยความงาม, เอ็นเตอร์  เทนเม้นท์ และความบันเทิง  โดยมีหนุ่มหน้าทะเล้นอย่าง
ดีเจ พีเค  ปิยะวัฒน์  เข็มเพชร มาร่วมคอนเฟิร์ม   เรียกเสียงกรี๊ดจากลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง

          และไฮไลท์สำหรับงานฉลองการเปิดศูนย์การค้า  เดอะ สแควร์ ในครั้งนี้  อยู่ทีการปลุกตำนานร็อคมือขวา ของศิลปินกลุ่มที่ยังคงอยู่ในใจของชาวร็อค “ไมโคร”  นำโดย หนุ่ย  อำพล ลำพูน เจ้าของวลีสุดฮิต อย่าง “ ชูมือขวาหน่อย ” มาร่วมถ่ายทอดบทเพลงในตำนานเรียกแฟนเพลง ให้มารวมตัวกันจนแน่นขนัดลานด้านหน้าศูนย์ โดยนำกว่า 10 เพลงอมตะ มาถ่ายทอด  อาทิ  เสียมั๊ย, เติมน้ำมัน,ส้มหล่น และอีกหลากหลายบทเพลง  เรียกพลังเสียงจากขาร็อคให้ได้กรี๊ด เรี่ยกน้ำย่อยจากเหล่าสาวกพลังร็อค ก่อนพบกับคอนเสิร์ตเต็มรูปแบบ ก่อนที่จะล่ำลาค่ำคืนแห่งการเฉลิมฉลองด้วยการอวยพร แฟนคลับ  และผู้ที่ร่วมงาน ก่อนทักทายแฟนคลับโดยรอบศูนย์การค้าเดอะ  สแควร์  บางใหญ่   งานนี้พูดได้คำเดียวว่าสุดยอดจริงๆ  แต่สำหรับผู้ที่ชอบใช้ชีวิตแบบไลฟ์สไตล์ ต้องไม่พลาดที่จะไปอัพเดทไลฟ์ สไตล์ได้ ที่ศูนย์การค้าเดอะ สแควร์ บางใหญ่  นนทบุรี 
          โดยเปิดให้บริการตั้งแต่  10.00 น – 22.00 น. ทุกวัน



ข่าวชิ้นนี้เผยแพร่โดย ไทยพีอาร์ ดอทเน็ต

ค้นหาข่าวย้อนหลังมากกว่า 30 วัน ได้ที่ www.iqnewscenter.com

เดอะ สแควร์ บางใหญ่ เปิดตัวแรงดึงคอนเสิร์ต “ไมโคร”ปลุกตำนานร็อคมือขวา พร้อมนำทัพดาราสุดฮอต ร่วมฉลองแกรนด์ โอเพนนิ่ง

tags : เดอะสแควร์ บางใหญ่ พี.ซี.แลนด์


ก๋วยเตี๋ยวเรือนายหงอก-10 ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือรสเด็ด

Vacations Travel ก๋วยเตี๋ยว นายแบ๋น บางกร่าง หมู่บ้านบัวทอง cuisine-eatingoutแนะนำ 10 ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือรสเด็ด ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์1.ก๋วยเตี๋ยวเรือบางกร่าง(ลุงกี้) ก๋วยเตี๋ยวเรือบางกร่างเริ่มต้นมานานเกือบ 20 ปีแล้ว จากการรวมตัวของเพื่อนรัก 3 คน ต่อมาขายดีก็เริ่มขยับขยายมีร้านเป็นของตัวเอง ดัดแปลงสูตรบ้างตามความชอบของแต่ละคน ลุงกี้บอกว่า “ของที่จะขายต้องเป็นของที่ดีของที่เรากินได้ ลูกค้าถึงจะกินได้” H&C recommend : ก๋วยเตี๋ยวหมูน้ำตก ขนมหวานน้ำกะทิ ราคา : ธรรมดา 11 บาท พิเศษ 20 บาท สถานที่ : ติดถนนนครอินทร์ ตรงข้ามศูนย์โตโยต้าเมืองนนท์สาขาสะพานพระราม 5 โทร : 08-5448-8226 , 08-9769-7566 อื่น ๆ : ก๋วยเตี๋ยวเรือบางกร่างอีก 2 สาขาคือ โกแบ๋น หมู่บ้านบัวทอง ถนนกาญจนาภิเษกและก๋วยเตี๋ยวเรือบางกร่าง ซอยทานสัมฤทธิ์ ติวานนท์ 38 2.ก๋วยเตี๋ยว “ร” ก๋วยเตี๋ยวเรือชามเล็กในแบบต้นตำรับ มีให้เลือกทั้งเนื้อสด และเนื้อเปื่อย น้ำซุปรสหอมกลมกล่อม ทีเด็ดอยู่ที่ก๋วยเตี๋ยวแห้งที่ใส่ถั่วคั่วหอมปรุงด้วยซีอิ๊วดำและน้ำส้ม สูตรเฉพาะรสจัดจ้าน โรยหน้าด้วยกากหมูชิ้นโตคลุกเคล้าให้เข้ากัน อร่อยแทบไม่ต้องปรุง นอกจากนี้ยังมีเมนูขนมจีนแกงเขียวหวานไก่ไว้เป็นทางเลือกอีกด้วย H&C [...]ก๋วยเตี๋ยวเรือนายหงอก Life Insurance Travel Insurance International Travel Insurance worldwideinsure.com Worldwide Jet Charter Private jets - Worldwide Charter Flights aerojetservices.com Tags ก๋วยเตี๋ยว นายแบ๋น บางกร่าง หมู่บ้านบัวทอง ก๋วยเตี๋ยวเรือนายหงอก Read More!